ครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:30 - 17:30 น.
วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียน เมื่อมาถึงห้องเรียนครูก็ให้ปั้มตัวปั้มลงในใบบันทึก
เพื่อเป็นหลักฐานในการเข้าเรียน
กิจกรรมแรก คือ ครูให้ตัวแทนของแต่กลุ่มออกมานำเสนอผลงาน "ปริศนาอะไรเอ่ย"
ของกลุ่มตัวเองที่ทำไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้วทีละกลุ่ม โดยครูให้ขออาสาสมัคร 1 กลุ่ม
เพื่อมาสาธิตให้เพื่อนๆได้ดูเป็นอย่าง กลุ่มที่อาสาคือกลุ่มของดิฉันเองค่ะ
ตัวแทนของกลุ่มดิฉันคือ นางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง
หลังจากกลุ่มดิฉันนำเสนอผลงานเสร็จแล้ว ก็จะเป็นตัวแทนของกลุ่มต่อไป
จนถึงกลุ่มสุดท้าย
กิจกรรมที่ 2
เป็นการเข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอนวันสุดท้าย
วันนี้ครูก็สอนในเรื่อง "การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา"
เนื้อหาการเรียน และความรู้ที่ได้รับ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (จากหลักสูตรปฐมวัย 46)
1. การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
2. การสื่อสารกับผู้อื่น
- ประสบการณ์ของตัวเอง (สิ่งที่เคยทำ , สิ่งที่เคยไป)
- เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
- สามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ
- อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้
3. เด็กได้มีโอกาสฟัง และมีความเข้าใจ
- เรื่องราวนิทาน
- คำคล้องจอง
- กลอน
4. การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อความหมายต่อเด็ก
- เขียนภาพ
-เขียนคล้ายตัวอักษร
- เขียนเหมือนสัญลักษณ์
- เขียนชื่อตนเอง
5. การอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อตวามหมายต่อเด็ก
- อ่านภาพ
- อ่านสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน
- เรื่องราวที่สนใจ
ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา
- การเขียนตามคำบอกของเด็ก
- อ่านนิทานร่วมกัน
- อ่านคำคล้องจอง
- ร้องเพลง
การประเมิน
1. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
2. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4. ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
นอกจากนี้ ครูก็ยังมีตัวอย่างแบบการเขียนแผนจัดประสบการณ์ มาให้ดูและอธิบายถึงวิธีการ
เขียนอีกด้วย
ส่วนประกอบของการเขียนแผน มีดังนี้
1. ชื่อกิจกรรม (ให้เขียนกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก)
2. จุดประสงค์
(ควรเขียนในเชิงพฤติกรรม คือ สิ่งที่เด็กแสดงออกมาให้ครูเห็น การพูด การอ่าน การฟัง)
3. ประสบการณ์สำคัญ (ดูจากหลักสูตรปฐมวัย 46)
4. กิจกรรมการเรียนรู้ (แบ่งออกได้ 3 ขั้น)
ขั้นที่1 ขั้นนำ - การเล่านิทาน
- พูดคุยสนทนากับเด็ก
- แนะนำอุปกรณ์ , ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์หน้าห้อง
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน - การร้องเพลง
- สอนคำคล้องจอง
- ให้เด็กช่วยกันระดมความคิดในสิ่งที่เด็กๆอยากเรียน
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป - ให้ตัวแทน หรือ อาสาสมัคร ของเด็กๆ ออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
5. สื่อและอุปกรณ์
6. การวัดผลประเมิน (ให้เขียนจำนวนข้อตามจุดประสงค์)
7. การบูรณาการ
ครูมีตัวอย่างข้อตกลงการเล่นในห้องเรียน
ของ "โรงเรียนเกษมพิทยา" มาให้ดู
ตัวอย่างชั้นวางหนังสือ ใช้สำหรับเด็กช่วงอายุเตรียมอนุบาล - อนุบาล 1
มุมหนังสือสีฟ้า (โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ)
ความรู้เพิ่มเติม
- ผลงานที่เด็กทำ ครูไม่ควรเก็บใส่กล่องไว้ ให้นำผลงานที่เด็กทำมาตกแต่งในห้องเรียน
- สมองมีการพัฒนาสูงสุดตั้งแต่อายุ 7 ปี
- โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวทศ์ ปัจจุบันทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 3 ขวบ ถึง
ประถมศึกษา
- การสอนของโรงเรียนเกษมพิทยา เป็นการสอนแบบโอแรนเกวิก และ ภาษาธรรมชาติ
- การสอนของโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ เป็นการสอนแบบวาดอร์ฟ (ใช้สีอ่อนๆ)
นอกจากเข้าเรื่องของการแล้ว ครูก็มีกิจกรรมฝึกสมาธิมาให้มาสอนนักศึกษา
เพื่อเป็นวิธีการเรียกสมาธิ ให้มีความจำในการอ่านหนังสือ และมีสมาธิ
ในการทำกิจกรรมต่างๆ
ภาพบรรยากาศการทำกิจกรรมในห้องเรียน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1. การฝึกสอน "ปริศนาอะไรเอ่ย" สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการสอนได้
2. เนื้อหาการเรียนในวันนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการสอนในชีวิตประจำวัน
และอนาคตได้
3. การเขียนแบบแผนจัดประสบการณ์ สามารถนำไปเขียนในต้นแบบในการเรียนวิชาอื่น และ
ยังสามารถนำแบบไปเขียนในช่วงฝึกสอนได้
ประเมินตนเอง
มีความตั้งใจฟังครูอธิบาย ให้ความสำคัญกับเนื้อหาการเรียนการสอนมาก
ทำกิจกรรมร่วมกับครูและเพื่อนๆอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจฟังครูอธิบายเช่นกัน ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้อย่างเต็มที่ สนุกสนาน
และเพื่อนๆก็ยังสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ให้ห้องเรียนน่าเรียนมากขึ้น
ประเมินอาจารย์
ครูเตรียมเนื้อหาของการสอนได้พร้อม และแน่นมาก ครูตั้งใจสอน ให้ความรู้
ให้ความสำคัญกับนักศึกษาทุกคนอย่างเต็มที่ และครูก็ให้คำปรึกษา คำแนะนำกับนักศึกษา
ตั้งแต่ที่เรียนด้วยกันวันแรกมาถึงวันสุดท้ายของการเรียนเทอมนี้ ครูน่ารัก ใจดีมากๆเลยค่ะ