ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาวประภาภรณ์ สายเนตร ค่ะ

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558




ครั้งที่ 7
วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 13:30 - 17:30 น.



     เมื่อเข้ามาถึงห้องเรียน เราก็เช็คชื่อโดยการปั้มตัวการ์ตูนลงในใบเช็คชื่อที่ครูได้แจกไว้ให้ 

เพื่อเป็นหลักฐานในการเข้าเรียน และครูก็แจกเนื้อเพลงให้อีกคนละ 1 แผ่น








ก่อนเริ่มเข้าสู่ของเนื้อหาการเรียนการสอน ครูได้สาธิตวิธีการสอนร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

ให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง ก่อนที่จะเริ่มสอน เราต้องมีวิธีการเก็บเด็กก่อน คือ เราอาจจะใช้

เป็นเพลงเก็บเด็ก หรือไม่ก็ใช้วิธีการเก็บเด็กแบบตั้งคำถามให้กับเด็ก


วิธีการสอนร้องเพลง ก็จะสอนคล้ายๆกับวิธีการอ่านคำคล้องจอง มีวิธีการ ดังนี้.....


1.  ครูร้องให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ

2.  ครูร้องให้เด็กฟังทีละบรรทัด แล้วให้เด็กร้องตาม และมีท่าประกอบไปด้วย

3.  ครูและเด็กร้องเพลงและทำท่าประกอบไปพร้อมๆกัน




พอครูสาธิตวิธีการร้องเพลงจบแล้ว กิจกรรมต่อมา ครูให้นักศึกษาไปรวมกลุ่ม 

กลุ่มเดิมที่เคยจัดไว้ หลังจากนั้นครูก็ให้นักศึกษาไปแต่งเพลงของกลุ่มตัวเอง และใช้หัวข้อ

เรื่องเริ่ม หัวข้อของกลุ่มดิฉันคือ "ทะเล"





ฉันมีหน้าที่เขียนเนื้อเพลง ช่วยเพื่อนแต่งเพลงและระบายสี




ในขณะที่แต่ละกลุ่มกำลังช่วยกันแต่งเพลง ครูก็ได้แจกสีไม้ให้คนละ 1 กล่อง 

เพื่อเป็นอุปกรณ์การเรียนในแต่ละวิชา



บรรยากาศการทำงานของแต่ละกลุ่ม







เพื่อนๆ ดูสบายกันมาก อิอิ!!





เมื่อกลุ่มของฉันช่วยกันแต่งเพลงเสร็จแล้ว ฉันก็นำเนื้อเพลงมาเขียนลงในกระดาษแผ่นใหญ่

และก็ช่วยกันวาดรูปประกอบ ระบายสีให้สวยงาม



หลังจากที่ทุกกลุ่มทำกิจกรรมนี้เสร็จแล้ว ครูก็ให้นักศึกษากลับไปเตรียมแสดงบทบาทสมมุติ

มานำเสนอในอาทิตย์หน้า





กิจกรรมต่อมา คือ "การทำไม้ชี้"


ครูให้นักศึกษาทำไม้ชี้คนละ 1 ไม้ โดยออกแบบได้ตามใจชอบของตัวเอง

แต่ครูมีอุปกรณ์มาให้ คือ...........

1.  ไม้ลูกโปร่ง

2.  กระดาษสี

3.  กรรไกร

4.  กาว

5.  สี



หลังจากนั้น เราก็ลงมือปฏิบัติทำไม้ชี้ของเรา




นี่คือ... ผลงานของฉัน (ไม่สวยเลย)




ผลงานของเพื่อนๆ ในห้อง (สวยและน่ารักมาก)




ความรู้ที่ได้รับ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1.    นอกจากจะได้ความรู้วิธีการสาธิตเพลงแล้ว เรายังได้ฝึกการกล้าแสดงออก

       และวิธีการร้องเพลงที่ถูกต้องด้วย

2.    การหัดแต่งเพลง สามารถทำให้เรามีประสบการณ์ใหม่ๆและสามารถพัฒนาความคิด

       ในตัวเราเอง

3.    การสอนเด็กร้องเพลง เราสอนเพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและฝึกทักษะให้เกิด

       พัฒนาการในการร้องเพลงสำหรับเด็ก

4.    การทำไม้ชี้ เป็นการฝึกทักษะในการใช้ความคิดว่าเราจะประดิษฐ์ไม้ชี้อย่างไรเมื่อนำไปชี้

       ตัวหนังสือแล้วเด็กสามารถจับใจความและสามารถเข้าใจเนื้อหาของการเรียนได้




ประเมินตนเอง

     ตั้งใจทำกิจกรรมทุกกิจกรรม ให้ความร่วมมือในกลุ่ม ช่วยเพื่อนทำงาน 

และให้ความสำคัญกับงาน ครูและเพื่อนๆทุกคนในห้องเรียน


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆตั้งใจทำงานมาก ผลงานออกมาดีและสวยงามกันทุกกลุ่ม เพื่อนน่ารัก สนุกสนาน


ประเมินอาจารย์

     ครูน่ารัก ตั้งใจสอนและเตรียมเนื้อหาของการสอนได้ดีมาก ครูช่วยนักศึกษาแต่งเพลง

เมื่อนักศึกษาแต่งไม่ได้ ครูให้คำแนะนำและคำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน






วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558


ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 13:30 - 17:30 น.






เมื่อเข้ามาถึงห้องเรียนแล้ว ครูก็ให้ปั้มตัวการ์ตูนลงใบเช็คการเรียนของตัวเองเพื่อนเป็น

หลักฐานในการเข้าเรียนแต่ละครั้ง




อันดับแรก เราก็เริ่มเข้าสู่ของเนื้อหาการเรียนการสอน ครูได้สอนวิธีการอ่านคำคล้องจอง

ให้นักศึกษาได้ดูอีก 1 ครั้ง หลังจากที่ครูสาธิตเสร็จแล้ว ครูก็ให้แต่ละกลุ่มไปฝึกการอ่าน

และทบทวนคำคล้องจองของกลุ่มตัวเอง











จากนั้นครูก็จะให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมา

แสดงบทบาทสมมุติให้เพื่อนๆได้รับฟังและชมกัน กลุ่มของฉันมีสมาชิกอยู่กัน 3 คน คือ

1.  นางสาวพรประเสริฐ     กลับผดุง

  2.  นางสาวบงกช       เพ่งหาทรัพย์

3.  นางสาวประภาภรณ์    สายเนตร


ส่วนตัวแทนของกลุ่มดิฉันคือ  นางสาวพรประเสริฐ   กลับผดุง


ภาพบรรยากาศในห้องเรียนและรอยยิ้มของเพื่อนๆ















และนี่ก็คือภาพที่น่ารัก รอยยิ้มของเพื่อนอันแสนหวานที่หาดูยากมากๆเลยค่ะ ....... อิอิ :))




ก่อนที่จะกลับบ้าน ครูได้แจกเนื้อเพลงให้นักศึกษาทุกคนแล้วให้กลับไปฝึกร้อง

และอาทิตย์หน้าครูก็จะสอนการแต่งเพลง.........






ความรู้ที่ได้รับ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


1.    การสอนเด็กอ่าน ไม่ควรชี้ทับตัวหนังสือ เพราะจะทำให้เด็กไม่รู้ถึงการเรียนรู้ด้านการอ่าน

2.    การอ่าน ไม่ควรอ่านอย่างรวดเร็ว ควรมีการเว้นวรรค และต้องคำนึงถึงเด็กด้วย 

      ว่าอ่านให้กับเด็กเล็ก หรือเด็กโต

3.    การสอน การอ่านคู่กับกระดาน ควรมีไม้ชี้ การออกแบบไม้ชี้ควรเป็นไม้ที่มีขนาดพอสมควร

       ปลายชี้ควรเป็นขนาดที่เรียวและเล็กไม่ใหญ่เกินไป เพราะจะได้สะดวกในการอ่าน

       ชี้ไปทีละคำ  และจะได้ไม่ปิดบังตัวหนังสือด้วย

4.    การฝึกสอนในบทบาทสมมุติ ทำให้ได้ทักษะในการฝึกสอนมากขึ้น สามารถนำไปใช้ใน

       ชีวิตประจำวันได้

5.     ได้ทักษะในการแต่งคำคล้องจองและการอ่านมากขึ้น ช่วยให้เราได้มีการพัฒนาในด้าน

         การใช้ความคิดและการอ่านมากขึ้นเรื่อยๆ







ประเมินตนเอง

    ให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆ ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆทุกครั้ง สนุกสนาน และตั้งใจทำ

ให้งานออกมาดี


ประเมินเพื่อน

    เพื่อนๆน่ารัก ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือ ความสัมพันกันดีมาก หัวเราะ เฮฮา สนุกสนาน 

มากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา


ประเมินอาจารย์

    ครูน่ารักทุกๆวันเลย ครูตั้งใจสอน และเตรียมเนื้อหาการสอนได้ดี ครูมีความสุข และหัวเราะ 

สนุกสนานไปพร้อมๆกับนักศึกษา








ครั้งที่ 5
วันพฤหหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 13:30 - 17:30 น.





เมื่อเข้ามาถึงห้องเรียนแล้ว ครูก็ให้นั่งรอเพื่อนๆมาให้ครบก่อน ก่อนถึงเพื่อนจะกันกันครบ

ครูก็ให้นักศึกษาทานขนมรอเพื่อนๆไป แล้วครูก็ขอแจมกับนักศึกษาด้วย




                                                                  (ภาพโดย นางสาวสิริกัลลยา บุญทนแสนทวีสุข)

 พอเพื่อนมาครบกันแล้ว ครูก็มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาเล่นเช่นเคยก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เนื้อหา

ของบทเรียน โดยครูให้นักศึกษาทุกคนยืนเป็นวงกลมแล้วเดินหมุนไปตามวงกลมพร้อมกับ

ทำท่าประกอบของตัวเองในการรำวง หลังจากนั้นครูก็ให้จับกลุ่มตามที่ครูบอก

ว่ากลุ่มละกี่คน ใครที่ทำช้าหรือสมาชิกในกลุ่มไม่ครบก็จะโดนลงโทษด้วยการ

ออกมาเต้นรำวงให้เพื่อนๆดูตรงกลางวง





หลังจากทำกิจกรรมเสร็จแล้ว เราก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาของการเรียนการสอน 

วันนี้ครูสอนเรื่อง "คำคล้องจอง" และครูก็ได้มีตัวอย่างมาให้ดู






อันดับแรก ครูให้จับกลุ่มตามที่เราเต้นรำวง แล้วหลังจากนั้นครูก็ให้แต่ละกลุ่มคิดหัวข้อเรื่องมา

กลุ่มละ 1 หัวข้อ โดยมี 4 หัวข้อดังนี้  ขนมไทย  จักรวาล  ท้องฟ้า และทะเล

กลุ่มของฉันได้หัวข้อ ทะเล  เมื่อเราได้หัวข้อเรื่องมาแล้ว เราก็ช่วยกันคิดและวางแผน

เขียนแผนผัง กันก่อนว่าในทะเลมีอะไรบ้าง และในทะเลมีประโยชน์อะไรบ้าง เป็นต้น



เมื่อเราเขียนผังผังเสร็จแล้ว ครูก็ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งคำคล้องจองช่วยกัน

แต่เหลือเวลานิดเดียวเลยทำให้แต่งไม่เสร็จ ครูเลยให้กลับไปทำต่อเป็นกาารบ้าน

ให้เสร็จเรียบร้อย แล้วนำมาเสนอผลงานในอาทิตย์หน้า







ก่อนที่ครูจะปล่อยกลับบ้าน ครูก็ได้สอนวิธีการอ่าน "คำคล้องจอง" ให้นักศึกษาได้รับรู้

วิธีการอ่าน  คำคลองจอง

1.   ครูจะต้องอ่านให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ

2.   ให้ครูอ่านให้เด็กฟังทีละ 1 บรรทัด แล้วให้เด็กอ่านตามครู

3.   ครูกับเด็กอ่านคำคล้องจองไปพร้อมๆกัน

  
 และครูก็สาธิตแสดงบทบาทสมมุติให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง โดยครูรับบทเป็นคุณครู 

ส่วนนักศึกษารับบทเป็นเด็กนักเรียน


                                                 
                                                                    (ภาพโดย นางสาวสิริกัลยา บุญทนแสนทวีสุข)

หลังจากนั้นครูขออาสาสมัคร 1 คนมาแสดงบทบาทสมมุติให้เพื่อนๆได้ดู ตามที่ครูได้สอน

เพื่อนคนที่ออกมาครูก็จะให้รางวัลเด็กดี 2 ดวง


เมื่อจบการเรียนการสอนของวันนี้แล้ว ครูก็ปล่อยให้นักศึกษากลับบ้านได้........







ความรู้ที่ได้รับ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


1.    การแสดงออกจาการรำวงเป็นกลุ่มๆกับเพื่อน ทำให้เรามีความกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น

2.    ได้รู้จักกับการอ่านคำคล้องจองถูกวิธีและถูกต้อง สามารถนำไปสอนกับเด็กๆได้

3.    การแต่งกลอนหรือแต่งคำคล้องจองฝึกให้เรามีทักษะในการแต่งกลอนมากขึ้น และสามารถ

      นำความรู้นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้






ประเมินตนเอง

    ตั้งใจทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับครูและเพื่อนๆมาก มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเอง

และได้รับความสนุกสนานมากๆ


ประเมินเพื่อน

    เพื่อนๆน่ารัก สนุกฌฮฮาตลอด มีความรับผิดชอบ ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์

    ครูเตรียมเนื้อหาการสอนได้ดี ละเอียด ครูน่ารัก ใจดีและสนุกเฮฮาไปกับนักศึกษาด้วย





วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558



ครั้งที่ 4
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 13:30 - 17:30 น.





เมื่อเข้ามาถึงห้องเรียนแล้วตรูก็ให้ปั้มตัวการ์ตูนของการเข้าเรียน และนั่งรอเพื่อนๆ 

มาให้ครบทุกคนพร้อมนั่งประจำที่ของตัวเอง






เมื่อเพื่อนๆมาครบแล้ว ครูเห็นหน้าตาของแต่ละคนแล้วดูง่วงๆและเหนื่อยมาก 

แถมบรรยากาศน่านอนฝนก็ตก ครูเลยหากิจกรรมมาให้เล่น โดยใช้ความเร็วและความว่องไว 

ว่าเรายังมีสติ สมาธิอยู่กับตัวบ้างหรือป่าว ถ้าใครตอบผิดหรือตอบช้าก็จะโดนลงโทษ

โดยการออกมาเต้นโชว์หน้าห้องเรียนตามเพลงที่ครูเปิดให้






หลังจากทำกิจกรรมคลายง่วงแล้ว ต่อมาครูก็เริ่มเข้าของเรื่องเนื้อหาการสอน โดยสอนเรื่อง

"ภาษาธรรมชาติ ความคิดกับภาษา" ว่ามีการเชื่อมโยงกับการศึกษาปฐมวัยอย่างไร


ต่อมาคือ กิจกรรมสุดท้ายก่อนที่ครูจะปล่อยให้กลับบ้าน ครูให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาร้องเพลง

ที่ครูเคยสอนมาคนละ 1 บทเพลงหน้าห้องเรียน ทีละคน 

บทเพลงที่ฉันร้องคือเพลง ตาดู หูฟัง


" เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง

คุณครูท่านสอนท่านสั่ง

ต้องตั้งใจฟัง ต้องตั้งใจดู "



เมื่อร้องเพลงครบทุกคนแล้ว ครูก็ปล่อยให้นักศึกษากลับบ้านได้............






ความรู้ที่ได้รับ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


    การนำภาษาธรรมชาติ และการเรียนของภาษา มาเชื่อมโยงกัน สามารถนำมาเป็นสื่อ

การเรียนการสอนแบบหนึ่ง ที่นำภาพมาแทนภาษา เช่น การนำภาพมาแทนภาษาเขียน 

ภาษาพูด ให้เกิดประโยคและบทความได้







ประเมินตนเอง

    ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานทำกิจกรรมทุกกิจกรรม อาจจะมีอาการง่วงบ้างแต่พอได้ร่วมมือ

ทำกิจกรรมกับครูและเพื่อนๆแล้วก็หายง่วงเลย แถมยังมีความสุขและสนุกสนานด้วย



ประเมินเพื่อน

    เพื่อนให้ความร่วมมือทำกิจกรรมทุกคน ตั้งใจและสนใจทำกิจกรรมมาก ทำให้เพื่อนๆ

สนุกสนานและมีความสุขเช่นกัน



ประเมินอาจารย์

    ครูตั้งใจสอนมาก และครูมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา ครูน่ารักใจดี และครูก็ได้เตรียม

เนื้อหาของการสอนได้ดีและเรียบร้อยมากค่ะ